สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ-v2

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Information Technology and Business Innovation

ข้อมูลโดยรวมของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ หลักสูตรปรับปรุง 2564

ชื่อปริญญา
ชื่อปริญญาภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Information Technology and Business Innovation)
อักษรย่อภาษาไทย : วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Information Technology and Business Innovation)
ปรัชญา

ปรัชญามหาวิทยาลัย

สร้างเสริมปัญญา ใฝ่หาความรู้ คู่คุณธรรม ชี้นำสังคม

ปรัชญาสาขาวิชา

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะอาชีพ มีองค์ความรู้ความเป็นผู้ประกอบการ สามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม
ความสำคัญ
จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกิดขึ้น นโยบายของรัฐที่ส่งเสริมการพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (CIVID-2019) ทำให้เกิดการทำงานวิถีใหม่ มีการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น ทั้งการใช้งานส่วนบุคคล องค์การธุรกิจ และอุตสาหกรรม ซึ่งจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ มีทักษะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาดำเนินงานในกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจและอุตสาหกรรม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานการเรียนรู้ด้านธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะที่จะตอบสนองความต้องการกำลังคนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการบริหารจัดการ การดำเนินงานทางธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีระบบและเป็นขั้นตอน โดยการประยุกต์องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านกระบวนการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ด้านกระบวนการพัฒนาระบบ และการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจหรือองค์การ สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้บัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ด้านวิชาการและทักษะด้านการปฏิบัติควบคู่กัน เพื่อนำไปประกอบอาชีพและก่อเกิดประโยชน์ต่อสังคม ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีแบบพลิกผัน (Disruption Technology)
คุณสมบัติผู้สมัคร

คุณสมบัติทั่วไป

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (ทุกแผนการเรียน)
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญา
3. มีความรู้พื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี
5. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

คุณสมบัติและเกณฑ์การรับเข้า

คลิกดูรายละเอียด TCAS รอบที่ 1 : Portfolio
คลิกดูรายละเอียด TCAS รอบที่ 2 : รับตรงโควต้า
คลิกดูรายละเอียด TCAS รอบที่ 3 : Admission
คลิกดูรายละเอียด TCAS รอบที่ 4 : รับตรงอิสระ
คลิกดูรายละเอียด TCAS รอบที่ 5 : รับตรงอิสระ

การเทียบโอนหน่วยกิต

การสะสมหน่วยกิต (Credit Bank)

การสะสมหน่วยกิต (Credit Bank) เป็นไปตามประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง แนวทางการดำเนินงานระบบคลังหน่วยกิตระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 และประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา
วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

วัตถุประสงค์

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว บัณฑิตจะมีสมรรถนะ ดังนี้
1. เคารพกฎเกณฑ์ของหน่วยงานและสังคม ยึดมั่นในความถูกต้องตามจรรยาบรรณทางวิชาการและจรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความอดทน มุ่งมั่น ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา มีระเบียบวินัย มีศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยเฉพาะเอกลักษณ์ความเป็นไทย รวมทั้งเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก มีจิตสาธารณะ ร่วมแก้ปัญหาสังคม ต่อต้านการทุจริต มีความคิดเชิงบวกต่อการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
2. อธิบายองค์ความรู้ทางธุรกิจและการประกอบการ สำหรับเป็นพื้นฐานในการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ อธิบายองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาทางธุรกิจได้ รอบรู้ เท่าทันต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และของโลก
3. มีทักษะการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต สืบค้นความรู้ที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถแยกแยะปัญหา วิเคราะห์สาเหตุ นำเสนอแนวทางเพื่อปรับปรุง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับกระบวนการทางธุรกิจ และปัญหาเฉพาะหน้าได้ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถบูรณาการข้ามศาสตร์และมีทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ
4. ทำงานโดยมีการวางแผน ดำเนินการ ตรวจสอบ และปรับปรุงให้มีความถูกต้อง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง การทำงาน และสังคม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในพหุวัฒนธรรม และแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์
5. สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแสวงหาข้อมูล สื่อสารและนำเสนอองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ และชี้นำสังคมอย่างรู้เท่าทัน
6. เลือกใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และสร้างสรรค์ และเป็นผู้สร้างหรือผู้ร่วมสร้างพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจและสังคม

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

PLO1 เคารพกฎเกณฑ์ของหน่วยงานและสังคม ยึดมั่นในความถูกต้องตามจรรยาบรรณทางวิชาการและจรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
PLO2 อดทน มุ่งมั่น ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา มีความคิดเชิงบวกต่อการทำงาน ช่วยเหลือประโยชน์ส่วนรวม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทั้งในภาวะผู้นำและผู้ตาม
PLO3 อธิบายองค์ความรู้ทางธุรกิจและการประกอบการ สำหรับเป็นพื้นฐานในการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ
PLO4 อธิบายองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาทางธุรกิจได้
PLO5 สืบค้นความรู้ที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
PLO6 แยกแยะปัญหา วิเคราะห์สาเหตุ นำเสนอแนวทางเพื่อปรับปรุง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับกระบวนการทางธุรกิจ และปัญหาเฉพาะหน้าได้
PLO7 ทำงานโดยมีการวางแผน ดำเนินการ ตรวจสอบ และปรับปรุงให้มีความถูกต้อง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง การทำงาน และสังคม
PLO8 สื่อสารและนำเสนอองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ และชี้นำสังคม
PLO9 เลือกใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และสร้างสรรค์
PLO10 เป็นผู้สร้างหรือผู้ร่วมสร้างพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจและสังคม

รายละเอียดหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ เป็นหลักสูตรที่ควบรวมระหว่างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ซึ่งได้ดำเนินการเปิดรับนิสิตใหม่ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นมา

เล่มหลักสูตร

แผนการเรียนหลักสูตรปรับปรุง 2564 (สำหรับผู้เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป)

  • นิสิตภาคปกติ แผนการเรียน 3 ปี
  • นิสิตภาคปกติ แผนการเรียน 4 ปี
  • นิสิตเทียบโอน เรียนออนไลน์นอกเวลาราชการ และเรียนในวันเสาร์อาทิตย์

รายละเอียดหลักสูตรปรับปรุง 2564

โครงสร้างหลักสูตรปรับปรุง 2564

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ 85 หน่วยกิต
2.1) วิชาแกน 9 หน่วยกิต
2.2) วิชาเฉพาะด้าน 76 หน่วยกิต
2.2.1) วิชาบังคับ 46 หน่วยกิต
- กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ 9 หน่วยกิต
- กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ 19 หน่วยกิต
- กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ 12 หน่วยกิต
- กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ 6 หน่วยกิต
2.2.2) วิชาเอกเลือก 30 หน่วยกิต
- กลุ่มดิจิทัลมีเดีย 15 หน่วยกิต
- กลุ่มธุรกิจอัจฉริยะ 24 หน่วยกิต
- กลุ่มพัฒนาซอฟต์แวร์สมัยใหม่ 18 หน่วยกิต
- กลุ่มระบบเครือข่ายและความปลอดภัย 12 หน่วยกิต
- กลุ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม 15 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต


คลิดดูรายละเอียดโครงสร้างหลักสูตรปรับปรุง 2564 ภาคปกติ
คลิดดูรายละเอียดโครงสร้างหลักสูตรปรับปรุง 2564 ภาคปกติเทียบโอน

แผนการศึกษาหลักสูตรปรับปรุง 2564 ภาคปกติ

คลิกดูรายละเอียด ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น      ภาคการศึกษาปลาย
คลิกดูรายละเอียด ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น      ภาคการศึกษาปลาย
คลิกดูรายละเอียด ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาต้น      ภาคการศึกษาปลาย
คลิกดูรายละเอียด ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาต้น      ภาคการศึกษาปลาย

แผนการศึกษาหลักสูตรปรับปรุง 2564 ภาคปกติเทียบโอน

คลิกดูรายละเอียด ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น      ภาคการศึกษาปลาย      ภาคการศึกษาฤดูร้อน
คลิกดูรายละเอียด ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น      ภาคการศึกษาปลาย      ภาคการศึกษาฤดูร้อน
คลิกดูรายละเอียด ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาต้น      ภาคการศึกษาปลาย      ภาคการศึกษาฤดูร้อน
คลิกดูรายละเอียด ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาต้น      ภาคการศึกษาปลาย

รายละเอียดหลักสูตรปรับปรุง 2562 (สำหรับผู้เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2562-2563)

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะกลุ่มสาขาวิชาของหลักสูตรปรับปรุง 2562

1) กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ (Applied Information Technology)
2) กลุ่มสาขาวิชานวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการดิจิทัล (Innovation for Digital Entrepreneur)

โครงสร้างหลักสูตรปรับปรุง 2562

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 127 หน่วยกิต
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต (คลิกดูรายวิชา)
2) หมวดวิชาเฉพาะ 91 หน่วยกิต
2.1) วิชาแกน 12 หน่วยกิต (คลิกดูรายวิชา)
2.2) วิชาเฉพาะด้าน 79 หน่วยกิต
2.2.1) วิชาบังคับ 46 หน่วยกิต (คลิกดูรายวิชา)
- กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ 9 หน่วยกิต
- กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ 19 หน่วยกิต
- กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ 12 หน่วยกิต
- กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ 6 หน่วยกิต
2.2.2) วิชาเอก 33 หน่วยกิต
- วิชาเอกบังคับ ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต (คลิกดูรายวิชา)
- วิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
(คลิกดูรายวิชาของกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์)

(คลิกดูรายวิชาของกลุ่มสาขาวิชานวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการดิจิทัล)

3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
คลิดดูรายละเอียดโครงสร้างหลักสูตรปรับปรุง 2562 เพิ่มเติม

แผนการศึกษาหลักสูตรปรับปรุง 2562

คลิกดูรายละเอียด ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น      ภาคการศึกษาปลาย
คลิกดูรายละเอียด ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น      ภาคการศึกษาปลาย
คลิกดูรายละเอียด ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาต้น      ภาคการศึกษาปลาย
คลิกดูรายละเอียด ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาต้น      ภาคการศึกษาปลาย

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าเทอมเหมาจ่าย สำหรับนิสิตรหัส 64 เป็นต้นไป


นิสิตไทย (เหมาจ่ายตลอดหลักสูตร 124,000 บาท)

  • ภาคการศึกษาต้นและปลาย เทอมละ 15,500 บาท
  • ภาคฤดูร้อน เทอมละ 7,750 บาท


นิสิตต่างชาติ

  • ภาคการศึกษาต้นและปลาย เทอมละ 35,500 บาท
  • ภาคฤดูร้อน เทอมละ 17,750 บาท


คลิกดูรายละเอียด ระเบียบการเก็บเงินค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา แบบเหมาจ่าย พ.ศ. 2564

ค่าเทอมเหมาจ่าย สำหรับนิสิตรหัส 62-63


นิสิตไทย (เหมาจ่ายตลอดหลักสูตร 120,000 บาท)

  • เทอมละ 14,000 บาท


คลิกดูรายละเอียด ระเบียบการเก็บเงินค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา แบบเหมาจ่าย พ.ศ. 2562
คลิกดูรายละเอียด ประกาศการแบ่งงวดการเก็บเงินค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา แบบเหมาจ่าย พ.ศ. 2562

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
สามารถประกอบอาชีพได้ในองค์การภาครัฐและเอกชน ประกอบอาชีพอิสระ เป็นผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวและงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

  • นักบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือนักเทคโนโลยีและสารสนเทศ
  • นักวิชาการคอมพิวเตอร์
  • เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis and Design)
  • ผู้จัดการโครงการสารสนเทศ (Information Project Manager)
  • ผู้จัดการฐานข้อมูล (Database Administrator)
  • ผู้ประกอบธุรกิจดิจิทัล (Digital Business)

นอกจากนั้น จากทักษะตามกลุ่มวิชาที่เลือกเรียน ยังสามารถประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความทักษะเฉพาะของตน ในลักษณะงานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตำแหน่งงาน ได้แก่

  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Application Developer)
  • นักพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application Developer)
  • นักพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์ (Website Designer and Developer)
  • นักพัฒนาไอโอที (IoT Developer)

ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์และมัลติมีเดีย ตำแหน่งงานได้แก่

  • นักพัฒนาสื่อวีดิทัศน์และมัลติมีเดีย (Multimedia and Video Developer)
  • นักผลิตเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content Creator)

ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการพัฒนาระบบเครือข่ายและความปลอดภัย ตำแหน่งงาน ได้แก่

  • ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย (Network System Administrator)
  • ผู้ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยระบบ (System Security Officer)

ประกอบอาชีพเกี่ยวกับธุรกิจอัจฉริยะ ตำแหน่งงาน ได้แก่

  • นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ (Business Analyst)
  • นักวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัล (Digital Data Analyst)

และอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปี

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ

นิสิตรหัส 66: อ.ยิ่งยศ ศรีบุญเรือง และ ผศ.ดร.พนิตนาฎ ยิ้มแย้ม
นิสิตรหัส 65: ผศ.ดร.เพชรรัตน์ รัตนวงษ์ และ ว่าที่ร้อยตรี ดร.กิตติศักดิ์ อ่อนเอื้อน
นิสิตรหัส 64: อ.พงช์ศนัญ ชาญชัยชิณวรฒ์ และ ผศ.ดร.พนิตนาฎ ยิ้มแย้ม
นิสิตรหัส 63: ผศ.ดร.เพชรรัตน์ รัตนวงษ์ และ อ.ยิ่งยศ ศรีบุญเรือง
นิสิตรหัส 62: ว่าที่ร้อยตรี ดร.กิตติศักดิ์ อ่อนเอื้อน และ ผศ.ดร.พนิตนาฎ ยิ้มแย้ม

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

อ.พงช์ศนัญ ชาญชัยชิณวรฒ์ และ ว่าที่ร้อยตรี ดร.กิตติศักดิ์ อ่อนเอื้อน

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

อ.ยิ่งยศ ศรีบุญเรือง

อาจารย์ประจำสาขาวิชา

 

ความสำเร็จของศิษย์เก่า
อื่นๆ
  • ทำความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรร่วมกันเพื่อผลิตบัณฑิตให้ตรงตามความต้องการของหน่วยงานได้แก่ บริษัทไพร์มซอฟต์ อินเตอร์เนชัลแนล จำกัด และบริษัท นิว ดอน จำกัด
  • ปรับโครงสร้างของหลักสูตร โดยการลดจำนวนหน่วยกิตจาก 127 เป็น 121 หน่วยกิต และปรับระยะเวลาการออกปฏิบัติสหกิจศึกษา จากเดิม 1 ภาคการศึกษา เป็น 2 ภาคการศึกษา
  • แผนการเรียนรองรับสำหรับนิสิตที่ต้องการสำเร็จการศึกษาภายใน 3 ปีการศึกษา
  • แผนการเรียนการสอนสำหรับนิสิตเทียบโอน ให้นิสิตสามารถเทียบโอน และมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ในวันธรรมดานอกเวลาราชการและเรียนในวันเสาร์-อาทิตย์ได้
  • จัดการเรียนการสอนบางรายวิชาเป็นแบบโมดูล เพื่อรองรับผู้ที่มีความต้องการ Reskill และ Upskill ในการจัดการเรียนการสอน
  • เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิต เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล ตามแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

Information updated on 25 January 2021





@Faculty of Science and Social Sciences.
All rights reserved.
คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
254 ม.4 ถ.สุวรรณศร ต.วัฒนานคร
อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว 27160
โทรศัพท์ 038-102-222 ต่อ 4053

Back to Top