โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้ Microsoft Excel เพื่อการวิจัย
กิจกรรมงานวิจัย September 25, 2016, by Panitnat Yimyam 0 Commentหลักการและเหตุผล
โปรแกรม Microsoft Excel หรือโปรแกรม Spread Sheet เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานเกี่ยวกับการคำนวณหรือแสดงข้อมูลในลักษณะตาราง โดยโปรแกรมได้เตรียมสูตรหรือฟังก์ชันการคำนวณทางคณิตศาสตร์ให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงการคำนวณที่ซับซ้อน จึงส่งเสริมให้ผู้ใช้ทำงานได้สะดวกมากขึ้น ข้อมูลจะถูกนำมาจัดเก็บในรูปแบบของช่องตารางหรือเซลล์ (Cell) ซึ่งข้อมูลดิบหรือข้อมูลที่ผ่านการคำนวณแล้วนั้นสามารถถูกแปลงเพื่อจัดกลุ่มข้อมูล รูปแบบข้อมูล สร้างรายงาน หรือแผนภูมิแบบต่างๆ ได้ เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ใช้งานได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถใส่ข้อความ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์พิเศษต่างๆ เพื่อทำให้การแสดงผลข้อมูลให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพได้
งานวิจัยถือเป็นพันธกิจหนึ่งของคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่บุคลากรจะต้องผลิตสร้างสรรค์ผลงานวิจัยอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งข้อมูลของงานวิจัยไม่ว่าจะเป็นศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ก็มักจะมีส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเข้ามาเกี่ยวข้อง หากบุคลากรสามารถใช้โปรแกรมที่นำมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยได้อย่างถูกต้อง ย่อมส่งผลให้การวิเคราะห์หรือการแสดงผลข้อมูลงานวิจัยมีระดับความเชื่อมั่นสูง ทั้งยังส่งผลให้งานวิจัยได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้นด้วย
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัยและงานสร้างสรรค์เล็งเห็นถึงความสำคัญในการใช้โปรแกรม Microsoft Excel เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยดังกล่าว จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้ Microsoft Excel เพื่อการวิจัยขึ้น เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีองค์ความรู้ต่อการประยุกต์ใช้โปรแกรม Microsoft Excel เพื่อทำงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
๑) เพื่อให้บุคลากรมีองค์ความรู้ในการใช้โปรแกรม Microsoft Excel เพื่อการทำวิจัย
๒) เพื่อให้บุคลากรสามารถนำโปรแกรม Microsoft Excel มาใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ในงานวิจัยแต่ละศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สถานที่ดำเนินงาน
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ๑๒๐๑ ชั้น ๒ อาคาร ศ.ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
กำหนดการจัดโครงการ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
ผู้เข้าร่วมโครงการ
บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน ๓๘ คน
ค้นหา
หมวกหมู่
-
เลือกตั้งนายกสโมสรนิสิต
-
กำหนดการ TCAS 64
-
จุลสารปีที่2 ฉบับที่ 4 เดือนมกราคม 2564
-
คุณสมบัติและเกณฑ์การรับเข้าสำหรับ TCAS รอบที่ 2 : รับตรงโควต้า
-
โครงการทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ปีการศึกษา 2563
-
จุลสารปีที่2 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม 2563
-
โครงการปรับพื้นฐานทางวิชาการ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ ปีการศึกษา ๒๕๖๓
-
ปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ปีการศึกษา 2563
-
คุณสมบัติและเกณฑ์การรับเข้าสำหรับ TCAS รอบที่ 5 : รับตรงอิสระ
-
คุณสมบัติและเกณฑ์การรับเข้าสำหรับ TCAS รอบที่ 4 : Admission