สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Administration Program in Public Administration
ชื่อปริญญา
ชื่อปริญญาภาษาไทย : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Administration (Public Administration)
อักษรย่อภาษาไทย : รป.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ : B.PA. (Public Administration)
ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ในการบริหารภาครัฐและภาคเอกชน เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ มีจิตอาสา คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการบริหารและพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน
ความสำคัญ
การเปลี่ยนแปลงทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ทำให้การจัดการเรียน การสอนในระดับปริญญาตรี มุ่งเน้นตอบสนองต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน เน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการบริหารภาครัฐและภาคเอกชน มีการควบคุมคุณภาพหลักสูตร ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. 2558 แต่ด้วยความแตกต่างในเชิงพื้นที่ของสถาบันแต่ละแห่ง การจัดการเรียนการสอน มีการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ตลอดจนการสร้างศาสตร์ทางการบริหารนั้น มีแง่มุมที่แตกต่างกันตามบริบทชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เกิดความเป็นพลวัตทางวิชาการ ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลานานกว่า 1 ทศวรรษ ได้ผลิตบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ทางการบริหารบริหารราชการแผ่นดิน ไปประกอบอาชีพในภาครัฐและภาคเอกชนแล้วนับไม่ถ้วน การปรับปรุงหลักสูตรในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะ มีความสามารถในการแข่งขัน ผ่านการเรียนการสอน มุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการการบริหารงานภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งหลักการบริหารองค์การ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารงบประมาณ และความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการบริหารท้องถิ่น ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ ทางนโยบายสาธารณะ และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารงบประมาณให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และการเรียนรู้ใน เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ที่ถือเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของประเทศ สามารถสร้างพื้นที่เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย ทำให้การผลิตบัณฑิตให้ความสำคัญกับการมีจิตอาสา เสียสละ รับใช้สังคม ผ่านกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาของหลักสูตร มีการปรับปรุงรายวิชา เนื้อหารายวิชาให้ครอบคลุม การเปลี่ยนแปลงในระดับนานาชาติ เพื่อเตรียมนิสิตให้สามารถเป็นนักบริหาร อีกทั้งยังเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการเป็นผู้บริหารภาครัฐ ผ่านรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปกครอง การบริหารราชการในทุกมิติ และรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรม โดยหลักสูตรมีการจัดแผนการเรียน การเทียบประสบการณ์ สะสมหน่วยกิต ตลอดจนนำวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติ และการประยุกต์ใช้กรณีศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรและมีโอกาสได้รับปริญญาภายใน 3 ปี
วัตถุประสงค์
1. มีคุณธรรมจริยธรรม ทั้งการประพฤติตนและนิสัย ทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เป็นหลักในการดำเนินชีวิต มีความซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย มีศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยเฉพาะเอกลักษณ์ความเป็นไทย
2. มีความรู้ในศาสตร์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ มีประสบการณ์ในวิชาชีพ สามารถอธิบาย วิเคราะห์ ถ่ายทอดให้ผู้อื่น และประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ มีความรอบรู้ เท่าทันต่อการพัฒนาและ การเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และของโลก
3. สามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ ปัญหาที่เกิดขึ้น และหาคำตอบการแก้ไขปัญหาได้ ความเข้าใจและความรู้จากศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องได้ มีทักษะการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต คิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถบูรณาการข้ามศาสตร์และมีทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ
4. สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่มีความหลากหลาย รับฟังความเห็นที่แตกต่างและแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางรัฐประศาสนศาสตร์ เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ตลอดจน มีทักษะ การทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในพหุวัฒนธรรม แสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถทำงานเป็นทีมทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
5. มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแสวงหาข้อมูลความรู้ สามารถใช้ระบบสถิติที่ถูกต้องในการวิเคราะห์ข้อมูล และนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถเลือกใช้การสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่เหมาะสม ส่งผลการวิเคราะห์ต่อผู้รับข้อมูล ข่าวสารกลุ่มต่างๆ ได้
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า 84 หน่วยกิต
2.1) กลุ่มวิชาแกน 48 หน่วยกิต
2.2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  • ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการศึกษา นักทรัพยากรบุคคล นักจัดการงานทั่วไป ฯลฯ
  • ข้าราชการตำรวจ/ข้าราชการทหาร
  • พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานองค์การมหาชน ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
  • พนักงานส่วนท้องถิ่น ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคล นักวิชาการศึกษา นักจัดการงานทั่วไป นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ฯลฯ
  • นักการเมืองระดับท้องถิ่น/ระดับชาติ
  • พนักงานบริษัท/ธุรกิจเอกชน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บุคคล เจ้าหน้าที่วางแผนองค์กร
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือเจ้าของกิจการ
คุณสมบัติผู้สมัคร
คุณสมบัติทั่วไป
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการ
2. เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี
3. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ (4 ปี)
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที 6 หรือเทียบเท่า ในทุกแผนการเรียน
ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าเทอมเหมาจ่าย


นิสิตไทย

  • ภาคต้น/ภาคปลาย ภาคการศึกษาละ 13,000 บาท
  • ภาคฤดูร้อน ภาคการศึกษาละ 6,500 บาท


นิสิตต่างชาติ

  • ภาคต้น/ภาคปลาย ภาคการศึกษาละ 33,000 บาท
  • ภาคฤดูร้อน ภาคการศึกษาละ 16,500 บาท


ช่องทางการติดต่อกับสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • www.facebook.com/pabuusk
  • เบอร์โทรศัพท์ 037-261560
  • www.sakaeo.buu.ac.th
อื่นๆ
หลักสูตรนี้มุ่งสร้างและพัฒนานิสิตให้เป็นบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีความเหมาะสมกับสังคมภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้มีความเสียสละและมีจิตสาธารณะเพื่อรับใช้สังคมไทย




@Faculty of Science and Social Sciences.
All rights reserved.
คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
254 ม.4 ถ.สุวรรณศร ต.วัฒนานคร
อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว 27160
โทรศัพท์ 038-102-222 ต่อ 4053

Back to Top