โครงการดนตรีไทยสัญจรเพื่อน้อง ครั้งที่ ๗
กิจกรรมสโมสรนิสิต September 26, 2016, 0 Commentหลักการและเหตุผล
นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะการละครฟ้อนราและดนตรีอันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะ กาหนดว่าต้องประกอบไปด้วยศิลปะ ๓ ประการ คือ การฟ้อนรา การดนตรี และการขับร้อง รวมเข้า
ด้วยกัน ซึ่งทั้งสามสิ่งนี้เป็นศิลปวัฒนธรรมไทยที่ทรงคุณค่าแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์มาช้านาน ทุกคน
แม้แต่ชาวต่างชาติเห็นแล้วรู้ทันทีว่านี่คือ “ประเทศไทย” ดนตรีไทยมีความสาคัญและมีความหมายต่อบุคคลในการพัฒนาคุณภาพจิตใจ เป็นสื่อกลางของกิจกรรมทางประเพณี ศาสนา ศิลปะการแสดง และเป็นสื่อทางสังคมที่ช่วยให้เกิดการรวมกลุ่มของคนในชาติ จัดได้ว่าเป็นทั้งศาสตร์แห่งความรู้ช่วยเสริมสร้างด้านปัญญาและเป็นศิลป์ช่วยกล่อมเกลาทางด้านจิตใจ ซึ่งมีส่วนช่วยพัฒนาทางด้านความคิด เป็นบ่อเกิดแห่งสมาธิและความอ่อนโยนของจิตใจ จึงควรปลูกฝังให้เยาวชนมีความรักในการเล่นดนตรีไทย เพื่อช่วยสืบสานอนุรักษ์ความเป็นไทยให้คงอยู่สืบไป
ในปัจจุบัน มีนักเรียนที่มีความสนใจทางด้านนาฏศิลป์และสามารถเล่นดนตรีไทยได้ แต่อาจยังไม่ทราบถึงประวัติความเป็นมาและเรื่องราวต่างๆทางทฤษฎีอย่างแท้จริง ดังนั้นหากนักเรียนที่มีความสนใจทางด้านนาฏศิลป์และดนตรีไทยได้รับความรู้พื้นฐานที่สาคัญหรือวิธีการฝึกฝนที่ถูกต้อง รวมทั้งเทคนิคใหม่ๆที่ช่วยเสริมในการเล่นดนตรีไทยด้วยนั้น จะยิ่งทาให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความสามารถทางด้านศาสตร์และศิลป์ของนาฏศิลป์และดนตรีไทยได้อย่างแท้จริง
ทางคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว จึงขอจัดโครงการดนตรีไทยสัญจรเพื่อน้องให้กับนักเรียนที่สนใจในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ซึ่งมีทั้งหมดจานวน ๘ อาเภอ โดยได้จัดโครงการฯแล้วเสร็จในอาเภอวัฒนานคร อาเภอเขาฉกรรจ์ อาเภอตาพระยา อาเภอเมืองสระแก้ว และอาเภออรัญประเทศ เพื่อปลูกฝังจิตสานึกแห่งความเป็นไทยและส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการมีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติของดนตรีไทยและนาฏศิลป์ รวมทั้งมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้ยั่งยืนสืบต่อไป
วัตถุประสงค์
๑) เพื่อส่งเสริม สนับสนุน อนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีไทยและนาฏศิลป์
๒) เพื่อให้นิสิต บุคลากรของคณะตระหนักถึงอัตลักษณ์แห่งความเป็นไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยและเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิต คณะ มหาวิทยาลัย ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
๓) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ ตระหนักถึงคุณค่า และสามารถบรรเลงดนตรีไทยได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน
๔) เพื่อสร้างโอกาสและ/หรือต่อยอดให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดสระแก้ว ได้มีความรู้ ความสามารถทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติของดนตรีไทยและนาฏศิลป์
๕) เพื่อให้นักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดสระแก้ว ได้มีเครื่องดนตรี เช่น ขลุ่ย เพื่อฝึกปฏิบัติหลังเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการฯ
๖) เพื่อประชาสัมพันธ์ สร้างโอกาสให้มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว เข้าถึงชุมชนในด้านการทานุบารุงศิลปวัฒนธรรมและเป็นที่รู้จักของโรงเรียนต่างๆในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว
สถานที่ดำเนินงาน
โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดสระแก้วซึ่งเป็นศูนย์กลางของโรงเรียนในพื้นที่บริเวณอาเภอนั้น
กำหนดการจัดโครงการ
จำนวน ๔ วัน สามคืน ในเดือนมกราคม-เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙
ผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว
Leave a comment