สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว
ภาษาอังกฤษ : Program in Green Logistics and Supply Chain Management
ชื่อปริญญา
ชื่อปริญญาภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration (Green Logistics and Supply Chain Management)
อักษรย่อภาษาไทย : บธ.บ. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ : B.B.A. (Green Logistics and Supply Chain Management)
ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นนักโลจิสติกส์ที่สามารถวางแผนป้องกันและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
ความสำคัญ
จากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561–2580) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ประกอบกับเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาที่กำหนดให้มีการปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรเป็นระยะ อย่างน้อยตามรอบระยะเวลาของหลักสูตรหรือทุก 5 ปี คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นหน่วยงานจัดการศึกษา มีพันธกิจหลักในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม อีกทั้งเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในตลาดแรงงานให้กับบัณฑิต คณะฯ ได้วิเคราะห์แนวโน้มทิศทางความต้องการแรงงานด้านการจัดการโลจิสติกส์ในอนาคต พบว่า ประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ประกอบกับเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่มุ่งเน้นความยั่งยืน คณะฯ จึงพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน โดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้จะเป็นผู้มีความสามารถในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ กอปรกับทั้งวางแผน ดำเนินงานโดยใช้ทรัพยากรและวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบของการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับการทำงานในอนาคตที่ทุกหน่วยงานต่างตระหนักถึงการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้ข้อจำกัดด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และเพื่อปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรนี้แล้ว บัณฑิตจะมีสมรรถนะ ดังนี้
1. มีคุณธรรมจริยธรรม มีความกล้าหาญทางจริยธรรมในการบ่งชี้และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรอบรู้ เท่าทันต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคในเขตพัฒนาพิเศษ
ภาคตะวันออก และของโลก มีความเข้าใจในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว

3. มีทักษะการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต สามารถวิเคราะห์ปัญหาเพื่อวางแผนป้องกันหรือลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สร้างหรือร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว สามารถทำงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือพื้นที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมอื่น
4. มีภาวะผู้นำ สามารถปรับตัวในการทำงานกับผู้อื่น มีคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการและทักษะในศตวรรษที่ 21 รวมทั้งการดำเนินชีวิตที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
5. มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 124 หน่วยกิต
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 88 หน่วยกิต
2.1) วิชาแกน 24 หน่วยกิต
2.2) วิชาเอก ไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิต
2.2.1) วิชาเอกบังคับ 31 หน่วยกิต
2.2.2) วิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 33 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
บัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว เมื่อสำเร็จการศึกษาหลักสูตรนี้ จะมีความรู้ความสามารถทางด้านธุรกิจ การจัดการโลจิสติกส์ รวมถึงการวางแผนป้องกันและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ในลักษณะงานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ประกอบการทางด้านโลจิสติกส์
  • ผู้ให้บริการการขนส่งระหว่างประเทศ
  • ตัวแทนขนส่งสินค้าทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ
  • นักวิเคราะห์และวางแผนการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการขนส่งและกระจายสินค้า
  • เจ้าหน้าที่บริหารคลังสินค้า
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ
  • เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ
  • เจ้าหน้าที่มวลชนสัมพันธ์
  • นักวิชาการ หรือนักวิจัยด้านการจัดการโลจิสติกส์
  • ประกอบอาชีพในหน่วยงานราชการ เช่น นักวิชาการขนส่ง นักวิชาการศุลกากร นักวิชาการพาณิชย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน หรือตำแหน่งอื่นในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น
คุณสมบัติผู้สมัคร
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญา
3. มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม (ให้เป็นไปตามประกาศของคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา หรือที่เกี่ยวข้อง)

        การเทียบโอนหน่วยกิตและรายวิชาเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การเทียบโอนผลการเรียนนิสิตระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ถ้ามี)
        การสะสมหน่วยกิต (Credit bank) เป็นไปตามประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง แนวทางการดำเนินงานระบบคลังหน่วยกิตระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 และประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา
ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าเทอมเหมาจ่าย


นิสิตไทย

  • ภาคการศึกษาต้น/ปลาย 13,000 บาท
  • ภาคฤดูร้อน 6,500 บาท


นิสิตต่างชาติ

  • ภาคการศึกษาต้น/ปลาย 33,000 บาท
  • ภาคฤดูร้อน 16,500 บาท

ช่องทางการติดต่อกับสาขา


           





@Faculty of Science and Social Sciences.
All rights reserved.
คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
254 ม.4 ถ.สุวรรณศร ต.วัฒนานคร
อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว 27160
โทรศัพท์ 038-102-222 ต่อ 4053

Back to Top