โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้โปรแกรม R เพื่อการวิจัย
กิจกรรมงานวิจัย September 26, 2016, 0 Commentหลักการและเหตุผล
งานวิจัยส่วนใหญ่จะมีขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เพื่อเป็นการจัดการข้อมูลให้มีคุณภาพ และรายงานผลข้อมูลให้มีความน่าเชื่อถือ ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวผู้วิจัยมักใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ซึ่งมีให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมหลายโปรแกรม อาทิ SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) SAS (Statistical Analysis System) STATA MINITAB อย่างไรก็ตามบางโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้นี้จะมีค่าลิขสิทธิ์สำหรับการใช้สูงมาก ผู้วิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ในสถาบันการศึกษา หรือเป็นนิสิต นักศึกษา อาจมีงบประมาณไม่เพียงพอสำหรับการจัดซื้อโปรแกรมนั้น หากผู้วิจัยเลือกใช้โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีการลักลอบจำหน่ายในราคาถูก ก็มีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจากบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ ทั้งยังพบว่าการใช้โปรแกรมมีผลต่อการพิจารณาตอบรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหลายแห่งอีกด้วย
โอคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ในปี ค.ศ. 1995 ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของทีมพัฒนาซึ่งเป็นอาสาสมัครจากทั่วโลก โปรแกรม R พัฒนา ขึ้นมาแบบ Open-source จึงทำให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้โดยถูกต้องตามกฎหมายและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด คุณสมบัติที่โดดเด่นประการหนึ่งของโปรแกรม R คือคุณสมบัติด้านการจัดการข้อมูล การคำนวณ และการแสดงทางกราฟิกไว้ด้วยกันอย่างดี จึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีสำหรับการวิจัย
คณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เห็นความสำคัญของการเลือกใช้โปรแกรมสถิติและเห็นประโยชน์ของการใช้โปรแกรม R จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้โปรแกรม R เพื่อการวิจัย ขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์และบุคลากรในคณะ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปสามารถนำ ความรู้ที่ได้ไปทำ วิจัยให้มีประสิทธิภาพ สร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ เกิดประโยชน์ต่อสังคม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยบูรพา คือ การเป็น “ขุมปัญญาตะวันออก เพื่ออนาคตของแผ่นดิน (Wisdom of the East for the Future of the Nation)” ต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดความรู้และฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรม R
สถานที่ดำเนินงาน
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น ๒ อาคาร ศ.ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
กำหนดการจัดโครงการ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
ผู้เข้าร่วมโครงการ
บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
Leave a comment